วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13


วันที่ 30 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมกระดาษลังมาคนละ 1 ชิ้น มาทำปายนิเทสโดยใช้สื่อการเรียน หน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้กับนักศึกษาด้วย

การทำชิ้นงานแต่ละครั้งนักศึกษาต้องมีการวางแผนขั้นตอนการทำก่อนเพื่อที่จะไม่สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่12


วันที่ 23 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษานำแป้งโดว์มาส่งพร้อมกับอุปกรณ์การเล่นกับแป้งโดว์ จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเรื่องของการผลิตสื่อ ประโยชน์ของสื่อ และการนำไปใช้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11




วันที่ 16 กันยายน 2553

อาจรย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำวัสดุอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์ในห้องเรียน และได้สั่งให้นักศึกษาร่วมกัน ช่วยเหลือกันทำแป้งโดว์ ทำให้นักศึกษารู้สึกตื่นเต้นกับการทำแป้งโดว์เพราะยังไม่เคยได้ทำแป้งโดว์มาก่อน

อาจารย์สั่งให้นักศึกษาหาอุปกรณ์ที่สามารถนำมาเล่นกับแป้งโดว์มาส่งพร้อมกับแป้งโดว์ โดยไม่ต้องไปหาซื้อวัสสดุอุปกรณ์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่10


วันที่ 9 กันยายน 2553

*อาจารย์สั่งให้นักศึกษานำป๊อบอัพมาส่ง

*อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่9


<102มาเรียนด้วยกัน
อาจารย์ก็ได้ตรวจดูงานที่อาจารย์สั่งให้ไปทำว่าเสร็จหมดทุกอย่างใหม สถานที่ใต้ตึกของคณะศึกษาศาสตร์ แล้วขึ้นไปเรียนที่ห้องเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ดูชิ้น และได้เล่นเกมการศึกษาที่อาจารย์นำมาให้เล่น
blockquote>วันที่ 2 กันยายน 2553
อาจารย์สั่งให้นักศึกษากล่ม 101 และกล่ม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่8


วันที่ 19 สิงหาคม 2553

อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องการไปอบรบในวันที่ 7 สิงหาคม 2553 แล้วให้นักศึกษาคนที่ไม่ได้ไปอบรมเซ็นชื่อพร้อมกับถามเหตุผลว่าทำไมไม่ได้ไปอบรม จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจดูชิ้นงานของนักศึกษาแต่ละชิ้นว่าเรียบร้อยดีไหม แล้วอาจารย์ได้สั่งงานชิ้น ใหม่ คือป๊อบอัพ จำนวน 3 ชิ้น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่7


วันที่ 29 กรกฎาคม 2553
เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย

เกมส์จับผิดภาพคู่เหมือน
เกมจับคู่ภาพและเงา
เนื้อหา
เกมจับคู่ภาพเงาเป็นการช่วยให้เด็กมีการจำและการสังเกตที่ดีของรูปภาพต่างๆเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านประสาทความจำและการมองเห็นได้อย่างดี
จุดมุ่งหมาย
1.ฝึกการสังเกตภาพที่เป็นของจริงและภาพเงา
2.ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ฝึกทักษะการสังเกต

วิธีเล่น
1.ให้เด็กดูบัตรภาพของจริงกับภาพเงาแล้วนำมาจับคู่กัน
2.เด็กเลือกบัตรภาพที่มีภาพของจริงกับภาพเงาจับเข้าคุ่กัน
3.ครูตรวจคำตอบโดยวางบัตรภาพคำสั่งมาเข้าคู่กันกับบัตรที่เลือก ถ้าเหมือนกันแสดงว่าถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6


วันที่ 22 กรกฏาคม 2553
เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมการเล่นที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านสติปัญญา เป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นเป็นผู้มีความสังเกตดี ช่วยให้มองเห็นได้ ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากของเล่นอย่างอื่น แต่ละชุดจะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่
หรืออาจกล่าวว่าเกมการศึกษาหมายถึง เกมที่เน้นกิจกรรมการเล่นโดยมีครูและกติกาที่ช่วยพัฒนาความคิด เป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน มีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
- เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ
- เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด
- เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมาวางในตาราง
- ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
- ฝึกการคิดหาเหตุผล
- ฝึกการตัดสินใจ
เกมการศึกษา
กิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมเพลง กิจกรรมคำคล้องจอง กิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบ กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมปริศนาคำทาย กิจกรรมปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมประกอบอาหาร กิจกรรมเกม กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 15 กรกฏาคม 2553
บันทึก
อาจารย์ให้นักศึกษารายงานสื่อของตัวเองที่นำมาใช้เป็นสื่อการสอน
สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
การเลือกสื่อ
การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม
การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่น ถือเป็นรากฐาน (foundation) ที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ 2553
หลักการในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2.ตรงกับลักษณะของเนื้อหาบทเรียน
3.เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4.เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
5.เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6.น่าสนใจและดึงดูดการสนใจ
7.วิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.วิธีสอน
2.งานการเรียนรู้
3.ลักษณะของผู้เรียน
4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ
5.ผู้สอนหรือครู
การแบ่งประเภทของสื่อ
*แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
*แบ่งตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันที่ 1 กรกฎาคม 2533
อาจารย์อธิบายความหมายของสื่อ
คุณค่าสื่อการเรียนการสอน
*ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทความมากขึ้น
*ช่วยให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ได้
*สงเสริมความคิด รู้จักแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์
หลักการเลือกสื่อการสอน
*สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
*เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
*เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
*สะดวก วิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
*มีคุณภาพ เทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนเป็นจริง
*ไม่แพงเกินไปหรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การผลิตตามผล

เข้าเรียนครั้งที่ 2

วันที่ 24 มิถุนายน 2553
จำกลุ่มทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและตอบคำถาม
1.ในความคิดเด็กปฐมวัยคืออะไร
2.เราจะไปศึกษาในเรื่องใดจะรู้จักเด็กในเรื่องใด
3.คิดว่าเด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้
4.นักศึกษารู้จักทฤษฎีอะไรบ้าง
งานเดี่ยว
ให้นักศึกษาหามาคนละ 1 ทฤษฎี

ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner) กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น